ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2554 (22 เมษายน พ.ศ. 2491 — 18 กันยายน พ.ศ. 2558) เป็นนักเขียนที่ได้รับความนิยมจากนักอ่านและเป็นที่ยอมรับในวงวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยในช่วงเวลากว่า 40 ปี ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี สารคดี จำนวนมาก ผลงานจำนวนไม่น้อยได้รับรางวัลในระดับชาติหลายเรื่อง ได้มีผู้นำไปสร้างสรรค์เป็นศิลปะแขนงอื่น คือ ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ อีกจำนวนหนึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ
วรรณกรรมของนายประภัสสร เสวิกุล มิใช่เพียงให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน แต่ให้ภาพสมจริงของสังคมและชีวิตมนุษย์ ผลงานที่สร้างขึ้นอย่างประณีต ผสมผสานข้อมูลกับจินตนาการอย่างเหมาะสม นำเสนอด้วยฝีมือการประพันธ์ และภาษาที่เลือกสรรแล้ว พร้อมทั้งให้ข้อคิดคติธรรมแก่ผู้อ่าน ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าท่านเป็นนักเขียนที่มีอุดมคติและมีสำนึกความรับผิดชอบต่อนักอ่านและสังคม งานประพันธ์ทุกเรื่องของท่านจะฉายภาพให้ผู้อ่านได้เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คุณธรรมและค่านิยมประการต่าง ๆ ได้แก่ ความเป็นผู้นำ มิตรภาพ การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร ความกล้า สู้ชีวิต ความอดออม ความเมตตา ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี การเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส การหมั่นแสวงหาความรู้ ตลอดจนการเห็นคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ เพราะท่านเชื่อมั่นว่าด้านดีของมนุษย์และคุณลักษณะที่ดีของคนไทย จะเป็นพลังสำคัญที่จะธำรงรักษาสังคมและมนุษยชาติไว้
นอกจากการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมไว้เป็นสิ่งจรรโลงใจแก่ผู้อ่านแล้ว นายประภัสสร เสวิกุล ยังมีบทบาทสำคัญในการเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของนักเขียนรุ่นอาวุโส ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ทางวรรณกรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการนักเขียนและวงวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย รวมทั้งถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการประพันธ์เพื่อสร้างนักเขียนรุ่นเยาว์ให้ก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนอาชีพ
นายประภัสสร เสวิกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2491 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยโท รังษี และนางศจี เสวิกุล (สกุลเดิม สีมันตร) สมรสกับนางชุติมา เสวิกุล (สกุลเดิม วรฉัตร) มีบุตร 2 คน คือ นายชาครีย์นรทิพย์ เสวิกุล และนายวรุตม์ชัย เสวิกุล วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 ในช่วงเวลา 02.00 น. นายประภัสสร เสวิกุล ถึงแก่กรรมในวัย 67 ปี จากอาการหัวใจล้มเหลว ที่บ้านพัก
นายประภัสสร เสวิกุล เริ่มเขียนบทกวีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบิดามารดาที่สอนให้ท่องจำโคลงโลกนิติ และลิลิตตะเลงพ่าย ตั้งแต่อายุ 3 - 4 ขวบ ทำให้จิตใจรักงานกวีนิพนธ์ และศิลปะการใช้ภาษาของกวีในอดีต จึงเริ่มหัดเขียนโคลงสี่สุภาพและกลอนแปด ผลงานกลอนแปดชิ้นแรกชื่อ "แม่จ๋า" ได้ลงพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2508 ในนิตยสารสามทหาร ซึ่งมีนายฉัชทิชย์ กระแสสินธุ์ เป็นบรรณาธิการ หลังจากนั้นก็เขียนส่งไปตามคอลัมน์กลอนในนิตยสารต่าง ๆ เช่น แม่บ้านการเรือน ศรีสัปดาห์ คุณหญิง ฯลฯ ต่อมานำเพลงสากลมาแปลเนื้อเพลงแล้วแต่งเป็นบทกลอน ลงพิมพ์ในหนังสือเพลง เช่น I.S. Song Hits, Current Songs และ Star Pics เป็นต้น บทกลอนเหล่านี้ได้เผยแพร่ออกอากาศในรายการเพลงทางสถานีวิทยุต่าง ๆ
หลังจากนายประภัสสร เสวิกุล ได้อ่านวรรณคดียิ่งใหญ่ระดับโลก วรรณคดีไทย และผลงานชั้นเยี่ยมของนักเขียนร่วมสมัยไทยเป็นจำนวนมาก เช่น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, มนัส จรรยงค์, มาลัย ชูพินิจ, ประมูล อุณหธูป, พนมเทียน และ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ต่อมาเรื่องสั้นเรื่องแรก คือ "หอมกลิ่นดอกงิ้ว" ได้ลงพิมพ์ในหนังสือเฟื่องนคร ฉบับกันยายน นลิน เมื่อ พ.ศ. 2514 ในการเขียนเรื่องสั้นช่วงแรก ๆ ท่านได้รับอิทธิพลด้านสำนวนภาษาของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถสร้างผลงานที่มีความเป็นตัวของตัวเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานเขียนที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงรับราชการอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทร์ เรื่องสั้น "อีกวันหนึ่งของตรัน" ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งรูปแบบและเนื้อหาได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลอนุสรณ์ ว. ณ ประมวญมารค และต่อมาได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่นจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ใน พ.ศ. 2521 อีกด้วย
หลังจากเขียนเรื่องสั้นมาเป็นเวลา 11 ปี นายประภัสสร เสวิกุล ได้รับคำแนะนำจากคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง บรรณาธิการนิตยสารสตรีสาร ให้ลองเขียนนวนิยายดูบ้าง นวนิยายเรื่องแรก คือเรื่อง "อำนาจ" ลงพิมพ์ในสตรีสาร เมื่อ พ.ศ. 2525 เมื่อพิมพ์รวมเล่มแล้ว นวนิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดหนังสือดีเด่น ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2526 หลังจากนั้น ท่านก็มีผลงานนวนิยายลงพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอมาจนถึงปัจจุบัน นวนิยายหลายเล่มพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง เช่น เวลาในขวดแก้ว, ชี้ค, ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน, ลอดลายมังกร, อำนาจ และนวนิยายหลายเรื่องได้นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ เช่น ช่อปาริชาต, เวลาในขวดแก้ว, ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน, ขอให้รักเรานิรันดร, อำนาจ, ซิงตึ๊ง, บ้านก้านมะยม, สำเภาทอง, ลอดลายมังกร ฯลฯ
นายประภัสสร เสวิกุล มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานหลากหลายประเภท มีผลงานเรื่องสั้นกว่า 150 เรื่อง นวนิยายมากกว่า 60 เรื่อง กวีนิพนธ์กว่า 200 บท วรรณกรรมเยาวชน สารคดี บทละครเวที "ข้าวต้มชามแรก" (แสดงหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวาระ 100 ปี มูลนิธิป่อเตีกตึ๊ง) และบทละครโทรทัศน์อีกจำนวนหนึ่ง
นอกจากผลงานด้านการประพันธ์ นายประภัสสร เสวิกุล ยังอุทิศตนเพื่อกิจกรรมด้านวรรณกรรมมาโดยตลอด โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 2 สมัยติดต่อกัน ได้สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์มหาศาลแก่แวดวงนักเขียนไทย เช่น เป็นผู้ริเริ่มรางวัลนราธิป เพื่อเป็นการเชิดชูนักเขียนที่เป็นอัจฉริยบุคคลและบรรณาธิการขลบงฃงฃลลอาวุโส ซึ่งเป็นผลงาน8ชชบบบบขขบขบบลลลบบบขที่ได้รับลบลลลบบการยอมรับอย่างกว้างขวาง เสนชลว_อชื่อ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ "ศรีบูรพา" ต่อองค์การยูเนสโกให้ได้รับการเชิดชูเกียรติคุณระดับโลกด้านวรรณกรรม และเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี แห่งชาตกาล ริเริ่มทำโครงการ 100 ปี 4 ยอดนักเขียนไทย คือ ศรีบูพา, หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์, ดอกไม้สด และไม้ เมืองเดิม ริเริ่มโครงการวรรณกรรมสัมพันธ์กับกัมพูชา เวียดนาม และลาว ร่วมวางรากฐานรางวัล "อมตะอวอร์ด" สาขาวรรณกรรม ริเริ่มโครงการ "กล้าวรรณกรรม" ดำเนินการหาทุนสร้างที่ทำการถาวรสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ริเริ่มและดำเนินการจัดงาน 100 ปี เรื่องสั้นไทย และการจัดงานรำลึก 20 ปี แห่งมรณกรรมของมนัส จรรยงค์
นายประภัสสร เสวิกุล เคยเป็นกรรมการตัดสินการประกวดรางวัลระดับชาติ เช่น รางวัลซีไรต์ พานแว่นฟ้า เซเว่นบุ๊คส์อวอร์ด แว่นแก้ว ฯลฯ